วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564

พระพุทธรูปสี่ทิศแบบมอญ

 

พระพุทธรูปสี่ทิศแบบมอญและช่องประทีป วัดพระยาแมน วัดร้างที่อยุธยา

ผมสันนิษฐานว่าพระอาจารย์ของพระเพทราชาที่ทำนายว่าพระเพทราชาจะได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นั้น ท่านมีเชื้อสายมอญครับ พระเพทราชาเมื่อมาบูรณะวัดนี้จึงใช้ศิลปกรรมแบบมอญคือมีพระพุทธรูปสี่ทิศไว้ในพระอุโบสถ การที่มีซุ้มเล็กๆไว้ใส่เทียนในพระอุโบสถผมสันนิษฐานว่าวัดนี้มีการฝึกสมาธิวิปัสสนาตอนกลางคืนเป็นประจำ เจดีย์สององค์น่าทางเข้าโบสถ์ของวัดนี้ องค์หนึ่งน่าจะบรรจุพระอัฐิของพระเพทราชาไว้ภายในและอีกองค์หนึ่งที่อยู่ใกล้กันน่าจะบรรจุอัฐิของพระอาจารย์ของท่านที่เป็นพระสงฆ์และเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดนี้ วัดนี้มีพระอุโบสถโค้งแบบท้องเรือสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปอยุธยาตอนปลาย วัดนี้ชื่อเดิมไม่ได้ชื่อ วัดพระยาแมน แต่ไม่ทราบว่าชื่อวัดอะไร วัดนี้มีมาก่อนสมัยพระเพทราชา เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ในสมัยพระเพทราขาพระองค์ทรงให้สร้างวัดนี้ใหม่เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบันเพื่อแสดงความเคารพและยกย่องพระอาจารย์ของพระองค์ครับ ขอขอบคุณ อ.ฉันทัสและคุณตั้มที่นำชมวัดนี้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักวัดนี้เพราะวัดนี้อยู่ลึกมาก ผมเคยไปเยี่ยมชมเมื่อ 5ปีก่อนครับ/ เอนกลาภ

วัดพระยาแมน พระเพทราชาบูรณะถวายพระอาจารย์ที่ทำนายว่าจะได้ครองราชสมบัติ

ผมเคยเดินทางมาชมวัดพระยาแมนแล้วครับ วัดนี้สร้างได้ใหญ่โตสวยงามมาก ภายในพระอุโบสถมีช่องคล้ายสามเหลี่ยมไว้ใส่ประทีปหรือไฟให้ความสว่างสำหรับตอนกลางคืนจำนวนมากหลายร้อยช่องด้วยหรืออาจจะใส่พระพุทธรูปด้วยก็ได้ วัดนี้โดยภาพรวมอยู่ในสภาพดีครับ แต่คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักเพราะว่าอยู่ลึกมาก แต่เป็นวัดที่น่ามาเยี่ยมชมอย่างมาก ผมมีความรู้สึกว่าในองค์เจดีย์ทั้งหน้าวัดและหลังวัดนี้มีบางอย่างซ่อนอยู่ น่าจะเป็นวัตถุโบราณหรือเป็นอัฐิของพระสงฆ์หรืออาจจะเป็นพระอัฐิของพระมหากษัตริย์คือสมเด็จพระเพทราชาด้วยครับ วัดนี้เหมือนมีสิ่งที่เรามองไม่เห็นคอยดูแลปกปักรักษาอยู่นะครับ ขอขอบคุณที่นำชมวัดนี้ครับ/ เอนกลาภ

เที่ยวพม่า เจดีย์ไจ้ปุ่น

พระเจดีย์ไจ๊ปุ่น (Kyailpun Paya) ไจ๊ คือ พระหรือเจดีย์ ปุ่น คือ 4 ดังนั้น พระเจดีย์จุ่น คือ พระเจดีย์ที่มีพระ 4 ทิศ โดยพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ อายุกว่า 500 ปี หันพระพักตร์ไปยัง 4 ทิศ สร้างขึ้นโดย 4 สาวพี่น้อง ที่อุทิศตนแด่พุทธศาสนา จึงสร้างพระพุทธรูปแทนตนเอง และได้สาบานไว้ว่าจะไม่ข้องแวะกับบุรุษเพศ ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า ในที่สุดแล้ว น้องสาวคนสุดท้อง กลับพบรักกับชายหนุ่มและแต่งงานกัน จึงเกิดอาเพศฟ้าผ่าพระพุทธรูปที่แทนตัวของน้องสาวคนสุดท้องพังทลายลงมา จนต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่ตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยพระพุทธรูปองค์นี้จะมีลักษณะแตกต่างจากองค์อื่น ๆ คือ พระพักตร์จะเศร้ากว่าองค์อื่น สำหรับผู้ที่เดินทางมาทัวร์พม่า ยังเมืองหงสาวดี จะต้องมาสักการะ ณ ที่แห่งนี้

เจดีย์ไจ๊ปุ่น (พระสี่ทิศ) เมืองพะโค พม่า�ไจ๊ คือ พระ หรือ เจดีย์ ปุ่น คือ 4 ดังนั้น พระเจดีย์จุ่น คือ พระเจดีย์ที่มีพระ 4 ทิศ โดยพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ อายุกว่า 500 ปี หันพระพักตร์ไปยัง 4 ทิศ สร้างขึ้นโดย 4 สาวพี่น้อง ที่อุทิศตนแด่พุทธศาสนา จึงสร้างพระพุทธรูปแทนตนเอง และได้สาบานไว้ว่าจะไม่ข้องแวะกับบุรุษเพศ �ซึ่งมีตำนานเล่าขานกันว่า ในที่สุดแล้ว น้องสาวคนสุดท้อง กลับพบรักกับชายหนุ่มและแต่งงานกัน จึงเกิดอาเพศฟ้าผ่าพระพุทธรูปที่แทนตัวของน้องสาวคนสุดท้องพังทลายลงมา จนต้องมีการสร้างขึ้นมาใหม่ตามที่เห็นในปัจจุบัน โดยพระพุทธรูปองค์นี้จะมีลักษณะแตกต่างจากองค์อื่น ๆ คือ พระพักตร์จะเศร้ากว่าองค์อื่น
จากนั้นมีบูรณะ วัดนี้เมื่อ พ.ศ.2019 พระเจดีย็นี้มีพระพุทธรูปปางประทับนั่งโดยรอบทั้ง 4 ทิศ อันได้แก่ �สมเด็จพระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ทางทิศเหนือ�พระ พุทธเจ้าโกนาคมโน ทางทิศใต้ �พระพุทธเจ้ากกุสันโธ ทางทิศตะวันออก�พระ พุทธเจ้ามหากัสสปะ ในทิศตะวันตก

พระพุทธรูป 4 ทิศ วัดดอยสัพพัญญู อ.แม่วาง เชียงใหม่


เจดีย์แบบชาวมอญ ที่วัดบันได อยุธยา


https://www.uncledeng.com/portfolio-view/wat-phumin/

พระงบน้ำอ้อยสี่ทิศ  กรุวัดคูยาง กำแพงเพชร จัดสร้างโดยท่านสมภารกลึง เจ้าอาวาสวัดคูยาง  ท่านเป็นพระเถระที่ทรงพระเวทย์วิทยาคม พระผู้มีพลังจิตสูง รูปหนึ่งในสมัยนั้น และท่านสมภารกลึงได้แบ่งพระของท่านออกเป็นสองส่วน พระส่วนหนึ่งของท่าน ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เมื่อคราวเสด็จประพาสหัวเมืองกำแพงเพชร และส่วนที่สองท่านไดบรรจุไว่ที่พระเจดีย์ในวัดคูยาง พระพุทธคุณของพระกรุวัดคูยาง ว่ากันว่า ใช้แขวนแทน พระกรุทุ่งเศษรฐีได้เลยไม่ว่าด้านเมตตา และโชคลาภ ไม่แพ้กันเลย พระดี สูงด้วยพุทธคุณน่าใช้ครับ ท่านใดมีศรัทธาขอเชิญเลยครับ





เมืองโบราณซับจำปา

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่โบราณสถาน เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ซึ่งเป็นเศียรพระพุทธรูป สมัยทวารวดีที่มีความสวยงามที่สุดตั้งแต่เคยพบมา

เศียรพระพุทธรูปที่ค้นพบที่เมืองโบราณซับจำปาแห่งนี้น่าจะสร้างจากศรีลังกาและเข้ามาที่เมืองโบราณแห่งนี้ในสมัยทวาราวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่11-12 ดูแล้วไม่น่าจะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นสมัยทวาราวดี หินที่ใช้แกะสลักเศียรพระพุทธรูปองค์นี้ไม่น่าใช่หินที่มีในเมืองไทยครับ. พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้น่าจะจำลองแบบจากพระพักตร์ของกษัตริย์องค์หนึ่งของศรีลังกาในยุคนั้น แสดงว่าเมืองโบราณซับจำปาแห่งนี้มีการติดต่อกับศรีลังกาทางเรือมาตั้งแต่ยุคนั้นแล้วครับ/ เอนกลาภ

พระคันธารราฐ พระพุทธรูปพันปีสมัยทวารวดี - วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

พระคันธารราฐ พระพุทธรูปโบราณลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาทอายุกว่าพันปีสมัยทวารวดี - วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

พระพุทธรูปสี่ทิศแบบมอญและช่องประทีป วัดพระยาแมน วัดร้างที่อยุธยา

ผมสันนิษฐานว่าพระอาจารย์ของพระเพทราชาที่ทำนายว่าพระเพทราชาจะได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นั้น ท่านมีเชื้อสายมอญครับ พระเพทราชาเมื่อมาบูรณะวัดนี้จึงใช้ศิลปกรรมแบบมอญคือมีพระพุทธรูปสี่ทิศไว้ในพระอุโบสถ การที่มีซุ้มเล็กๆไว้ใส่เทียนในพระอุโบสถผมสันนิษฐานว่าวัดนี้มีการฝึกสมาธิวิปัสสนาตอนกลางคืนเป็นประจำ เจดีย์สององค์น่าทางเข้าโบสถ์ของวัดนี้ องค์หนึ่งน่าจะบรรจุพระอัฐิของพระเพทราชาไว้ภายในและอีกองค์หนึ่งที่อยู่ใกล้กันน่าจะบรรจุอัฐิของพระอาจารย์ของท่านที่เป็นพระสงฆ์และเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดนี้ วัดนี้มีพระอุโบสถโค้งแบบท้องเรือสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปอยุธยาตอนปลาย วัดนี้ชื่อเดิมไม่ได้ชื่อ วัดพระยาแมน แต่ไม่ทราบว่าชื่อวัดอะไร วัดนี้มีมาก่อนสมัยพระเพทราชา เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ในสมัยพระเพทราขาพระองค์ทรงให้สร้างวัดนี้ใหม่เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบันเพื่อแสดงความเคารพและยกย่องพระอาจารย์ของพระองค์ครับ ขอขอบคุณ อ.ฉันทัสและคุณตั้มที่นำชมวัดนี้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักวัดนี้เพราะวัดนี้อยู่ลึกมาก ผมเคยไปเยี่ยมชมเมื่อ 5ปีก่อนครับ/ เอนกลาภ



 

เจดีย์ผังแปดเหลี่ยมรุ่นแรก สมัยก่อนอยุธยาที่วัดพระรูป สุพรรณบุรี

 

เจดีย์ผังแปดเหลี่ยมรุ่นแรก สมัยก่อนอยุธยาที่วัดพระรูป สุพรรณบุรี

เจดีย์แปดเหลี่ยมวัดพระรูปแห่งนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าครับ สร้างก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา ผมคิดว่าสร้างต้นศตวรรษที่ 19 ก่อน พ.ศ 1893 วัดพระรูปนี้สร้างโดยกษัตริย์ราชวงศ์ สุพรรณภูมิผู้ยิ่งใหญ่และเลื่อมใสพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ลวดลายบนองค์เจดีย์ที่ ดร.ฉันทัสไม่ทราบว่าเป็นลวดลายอะไรนั้นผมขออธิบายว่าเป็นลวดลายพรรณพฤกษา มีทั้งดอกไม้และใบไม้ เป็นศิลปกรรมแบบสุพรรณภูมิครับ ลวดลายแบบนี้ทำได้ยากมากต้องเป็นช่างชั้นครูครับ วัดนี้น่าจะเป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิที่มีความสำคัญมากองค์หนึ่งครับ / เอนกลาภ

เจดีย์ผังแปดเหลี่ยมรุ่นที่ ๒ สมัยอยุธยาตอนต้น วัดศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี

เจดีย์​ทรง​สูง​ มี​ 3 รุ่นครับ​ รุ่น​ 1 ก่อน​รับ​คติ​เถรวาท​ลังกา​ พศว.19-20​ มี​พระ​ล้อม​รอบ​ทิศ รุ่น​ 2 แรก​รับ​คติ​เถรวาท​ลังกา​ พศว.20​ มี​พระ​หนึ่ง​องค์​ อยู่​ทาง​ตะวัน​ออก รุ่น​ 3 ประยุกต์​ให้​เข้ากับ​คติ​เถรวาท​ลังกา​ พศว.20-21​ ไม่​มี​ซุ้ม​พระ​ เช่น​ เจดีย์​วัด​สาม​ปลื้ม​ อยู่​กลาง​วง​เวียน​ อยุธยา​ครับ อยุธยา​รับ​พุทธ​เถรวาท​ช้า​กว่า​สุโขทัย​ครับ​ เพราะ​สืบทอด​ขนบ​ละโว้​-เขมร​ใน​ช่วง​แรก​ มี​สร้าง​วัด​มเหยงค์​ใน​คติ​พุทธ​เถรวาท​ลังกา​ใน​ปี​ 1980 หรือ​ปลาย​ พศว.20 ถือว่า​ปรับตัว​ช้า​กว่า​สุโขทัย​ครับ ส่วน​สุพรรณ​ก็​สืบคติ​ท้อง​ถิ่น​อยู่​นาน​ ปรับตัว​ช้า​เหมือน​กัน​ครับ แต่​จะ​มอง​เห็น​ว่า​ ​แต่ละ​ท้องถิ่น​ก็​จะ​มี​พุทธ​ที่​มี​ความ​เป็น​ตัวเอง​ แบบ​ที่​ไม่​เหมือน​กัน​

เจดีย์วัดโหน่งเหน่งแห่งนี้มีอายุประมาณ 500ปีเศษ วัดนี้สร้างโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิร่วมสมัยกับอยุธยาตอนต้น เจดีย์องค์นี้เป็นแบบเดียวกันกับเจดีย์วัดสามปลื้มที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แต่เจดีย์องค์นี้เก่าแก่กว่าเจดีย์วัดสามปลื้มเล็กน้อย วัดนี้ชื่อเดิมไม่ใช่ชื่อวัดโหน่งเหน่ง แต่ไม่ทราบว่าวัดนี้ชื่อเดิมว่าวัดอะไร ภายในเจดีย์องค์นี้มีวัตถุโบราณที่มีค่าบรรจุอยู่ภายในและมีพระพุทธรูปโบราณอยู่ภายในองค์เจดีย์ด้วย วัดนี้ต้องเป็นวัดที่สำคัญในอดีต เสียดายที่พระอุโบสถและพระวิหารหายไปแล้วแต่เจดีย์องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์นะครับ ใครที่ได้มีโอกาสไปกราบไหว้ถือว่ามีความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครับ/ เอนกลาภ

วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างริมถนนก่อนเข้าเมืองอยุธยากับเจดีย์รูปทรงแปลกตา

เจดีย์ทรงพยู(เจดีย์ลอมฟาง) รูปทรงแปลกตา ที่วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างริมถนนก่อนเข้าเมืองพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวมอญเชื้อสายพยูที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
เจดีย์​มี​องค์​ประกอบ 1. ฐาน​ 2 ชั้น​ ผัง​สี่เหลี่ยม​ ยก​เก็จ​ คาดลวด​บัว​กลม​(ลูก​แก้ว) 2. องค์​ระฆัง​ทรง​ลอม​ฟาง 3. ต่อ​ด้วย​ก้าน​ฉัตร​ ไม่​มี​บัลลังก์ รูป​แบบ​นี้​เทียบ​ได้​กับ​เจดีย์แบบ​พยู​ ผม​เจอ​ 2 องค์​ใน​เมืองสะเทิม​ รัฐ​มอญ​ ประเทศ​พม่า​ครับ​

ชาวพยูคือผู้สร้างอาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักรศรีเกษตรคืออาณาจักรแรกในดินแดนสุวรรณภูมิที่รับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ปัจจุบันอาณาจักรนี้อยู่ใกล้เมืองแปรในประเทศเมียนม่าร์ ชาวพยูมีอาณาจักรของตนเองมาก่อนที่ชาวพม่าจะมาสร้างอาณาจักรพุกาม เจดีย์องค์นี้สร้างตามแบบชาวพยู แสดงว่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวรนั้นมีชาวพยูถูกกวาดต้อนให้มาอยู่ในอยุธยาจำนวนมาก ส่วนโบสถ์ของวัดสี่เหลี่ยมแห่งนี้คือบริเวณบ้านของเจ้าของที่ในปัจจุบัน เจดีย์ที่เห็นในคลิปนี้คือด้านหลังของวัดครับ แต่ทำไมชาวบ้านถึงมาสร้างบ้านทับบนโบราณสถานได้ สมัยก่อนเมืองไทยปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้มาก ไม่ควรให้มาสร้างบ้านบนพื้นที่โบราณสถานครับ วัดนี้อาจจะเป็นวัดเดียวในอยุธยาที่มีรูปทรงเจดีย์แบบนี้ เจดีย์นี้ยังมีสมบัติโบราณเก็บซ่อนไว้ภายใน พวกขโมยสมบัตินำไปได้บางส่วนเท่านั้น เพราะชาวพยูมีวิธีซ่อนสมบัติไว้ในเจดีย์ซึ่งยากที่คนอื่นจะรู่ว่าอยู่ตรงไหน แต่วัดนี้เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาด้วยเพราะมีศิลปะที่อ.ฉันทัส เรียกว่าลายลูกแก้ว ลายนี้เป็นลายของพระมหากษัตริย์ที่คนทั่วไปจะนำไปใช้ไม่ได้ วัดนี้สร้างโดยพระมหากษัตริย์แน่นอนครับ ขอขอบคุณคุณตั้มและ ดร.ฉันทัส ที่นำชมวัดนี้ครับ/ เอนกลาภ