เจดีย์ผังแปดเหลี่ยมรุ่นแรก สมัยก่อนอยุธยาที่วัดพระรูป สุพรรณบุรี
เจดีย์แปดเหลี่ยมวัดพระรูปแห่งนี้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าครับ สร้างก่อนการตั้งกรุงศรีอยุธยา ผมคิดว่าสร้างต้นศตวรรษที่ 19 ก่อน พ.ศ 1893 วัดพระรูปนี้สร้างโดยกษัตริย์ราชวงศ์
สุพรรณภูมิผู้ยิ่งใหญ่และเลื่อมใสพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ลวดลายบนองค์เจดีย์ที่ ดร.ฉันทัสไม่ทราบว่าเป็นลวดลายอะไรนั้นผมขออธิบายว่าเป็นลวดลายพรรณพฤกษา มีทั้งดอกไม้และใบไม้ เป็นศิลปกรรมแบบสุพรรณภูมิครับ ลวดลายแบบนี้ทำได้ยากมากต้องเป็นช่างชั้นครูครับ วัดนี้น่าจะเป็นวัดประจำรัชกาลของพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิที่มีความสำคัญมากองค์หนึ่งครับ / เอนกลาภ
เจดีย์ผังแปดเหลี่ยมรุ่นที่ ๒ สมัยอยุธยาตอนต้น วัดศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรี
เจดีย์ทรงสูง มี 3 รุ่นครับ
รุ่น 1 ก่อนรับคติเถรวาทลังกา พศว.19-20 มีพระล้อมรอบทิศ
รุ่น 2 แรกรับคติเถรวาทลังกา พศว.20 มีพระหนึ่งองค์ อยู่ทางตะวันออก
รุ่น 3 ประยุกต์ให้เข้ากับคติเถรวาทลังกา พศว.20-21 ไม่มีซุ้มพระ เช่น เจดีย์วัดสามปลื้ม อยู่กลางวงเวียน อยุธยาครับ
อยุธยารับพุทธเถรวาทช้ากว่าสุโขทัยครับ เพราะสืบทอดขนบละโว้-เขมรในช่วงแรก มีสร้างวัดมเหยงค์ในคติพุทธเถรวาทลังกาในปี 1980 หรือปลาย พศว.20
ถือว่าปรับตัวช้ากว่าสุโขทัยครับ
ส่วนสุพรรณก็สืบคติท้องถิ่นอยู่นาน ปรับตัวช้าเหมือนกันครับ
แต่จะมองเห็นว่า แต่ละท้องถิ่นก็จะมีพุทธที่มีความเป็นตัวเอง แบบที่ไม่เหมือนกัน
เจดีย์วัดโหน่งเหน่งแห่งนี้มีอายุประมาณ 500ปีเศษ วัดนี้สร้างโดยพระมหากษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิร่วมสมัยกับอยุธยาตอนต้น เจดีย์องค์นี้เป็นแบบเดียวกันกับเจดีย์วัดสามปลื้มที่ จ.พระนครศรีอยุธยา แต่เจดีย์องค์นี้เก่าแก่กว่าเจดีย์วัดสามปลื้มเล็กน้อย วัดนี้ชื่อเดิมไม่ใช่ชื่อวัดโหน่งเหน่ง แต่ไม่ทราบว่าวัดนี้ชื่อเดิมว่าวัดอะไร ภายในเจดีย์องค์นี้มีวัตถุโบราณที่มีค่าบรรจุอยู่ภายในและมีพระพุทธรูปโบราณอยู่ภายในองค์เจดีย์ด้วย วัดนี้ต้องเป็นวัดที่สำคัญในอดีต เสียดายที่พระอุโบสถและพระวิหารหายไปแล้วแต่เจดีย์องค์นี้มีความศักดิ์สิทธิ์นะครับ ใครที่ได้มีโอกาสไปกราบไหว้ถือว่ามีความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตครับ/ เอนกลาภ วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างริมถนนก่อนเข้าเมืองอยุธยากับเจดีย์รูปทรงแปลกตา
เจดีย์ทรงพยู(เจดีย์ลอมฟาง) รูปทรงแปลกตา ที่วัดสี่เหลี่ยม วัดร้างริมถนนก่อนเข้าเมืองพระนครศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าสร้างโดยชาวมอญเชื้อสายพยูที่ถูกกวาดต้อนมาในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแห่งกรุงศรีอยุธยา
ชาวพยูคือผู้สร้างอาณาจักรศรีเกษตร อาณาจักรศรีเกษตรคืออาณาจักรแรกในดินแดนสุวรรณภูมิที่รับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ปัจจุบันอาณาจักรนี้อยู่ใกล้เมืองแปรในประเทศเมียนม่าร์ ชาวพยูมีอาณาจักรของตนเองมาก่อนที่ชาวพม่าจะมาสร้างอาณาจักรพุกาม เจดีย์องค์นี้สร้างตามแบบชาวพยู แสดงว่าในสมัยสมเด็จพระนเรศวรนั้นมีชาวพยูถูกกวาดต้อนให้มาอยู่ในอยุธยาจำนวนมาก ส่วนโบสถ์ของวัดสี่เหลี่ยมแห่งนี้คือบริเวณบ้านของเจ้าของที่ในปัจจุบัน เจดีย์ที่เห็นในคลิปนี้คือด้านหลังของวัดครับ แต่ทำไมชาวบ้านถึงมาสร้างบ้านทับบนโบราณสถานได้ สมัยก่อนเมืองไทยปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้มาก ไม่ควรให้มาสร้างบ้านบนพื้นที่โบราณสถานครับ วัดนี้อาจจะเป็นวัดเดียวในอยุธยาที่มีรูปทรงเจดีย์แบบนี้ เจดีย์นี้ยังมีสมบัติโบราณเก็บซ่อนไว้ภายใน พวกขโมยสมบัตินำไปได้บางส่วนเท่านั้น เพราะชาวพยูมีวิธีซ่อนสมบัติไว้ในเจดีย์ซึ่งยากที่คนอื่นจะรู่ว่าอยู่ตรงไหน แต่วัดนี้เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาด้วยเพราะมีศิลปะที่อ.ฉันทัส เรียกว่าลายลูกแก้ว ลายนี้เป็นลายของพระมหากษัตริย์ที่คนทั่วไปจะนำไปใช้ไม่ได้ วัดนี้สร้างโดยพระมหากษัตริย์แน่นอนครับ ขอขอบคุณคุณตั้มและ ดร.ฉันทัส ที่นำชมวัดนี้ครับ/ เอนกลาภ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น