วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2564

เมืองโบราณซับจำปา

ขุดพบเศียรพระพุทธรูปโบราณอายุพันปี สวยงามที่สุด ณ เมืองโบราณซับจำปา

เศียรพระพุทธรูปนี้ ขุดพบที่โบราณสถาน เมืองโบราณซับจำปา อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จากการศึกษาและสำรวจทางโบราณคดี สันนิษฐานอายุราว พุทธศตวรรษที่ 11 – 12 ซึ่งเป็นเศียรพระพุทธรูป สมัยทวารวดีที่มีความสวยงามที่สุดตั้งแต่เคยพบมา

เศียรพระพุทธรูปที่ค้นพบที่เมืองโบราณซับจำปาแห่งนี้น่าจะสร้างจากศรีลังกาและเข้ามาที่เมืองโบราณแห่งนี้ในสมัยทวาราวดีตั้งแต่พุทธศตวรรษที่11-12 ดูแล้วไม่น่าจะเป็นฝีมือช่างท้องถิ่นสมัยทวาราวดี หินที่ใช้แกะสลักเศียรพระพุทธรูปองค์นี้ไม่น่าใช่หินที่มีในเมืองไทยครับ. พระพักตร์ของพระพุทธรูปองค์นี้น่าจะจำลองแบบจากพระพักตร์ของกษัตริย์องค์หนึ่งของศรีลังกาในยุคนั้น แสดงว่าเมืองโบราณซับจำปาแห่งนี้มีการติดต่อกับศรีลังกาทางเรือมาตั้งแต่ยุคนั้นแล้วครับ/ เอนกลาภ

พระคันธารราฐ พระพุทธรูปพันปีสมัยทวารวดี - วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

พระคันธารราฐ พระพุทธรูปโบราณลักษณะประทับนั่งห้อยพระบาทอายุกว่าพันปีสมัยทวารวดี - วัดหน้าพระเมรุ อยุธยา

พระพุทธรูปสี่ทิศแบบมอญและช่องประทีป วัดพระยาแมน วัดร้างที่อยุธยา

ผมสันนิษฐานว่าพระอาจารย์ของพระเพทราชาที่ทำนายว่าพระเพทราชาจะได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์นั้น ท่านมีเชื้อสายมอญครับ พระเพทราชาเมื่อมาบูรณะวัดนี้จึงใช้ศิลปกรรมแบบมอญคือมีพระพุทธรูปสี่ทิศไว้ในพระอุโบสถ การที่มีซุ้มเล็กๆไว้ใส่เทียนในพระอุโบสถผมสันนิษฐานว่าวัดนี้มีการฝึกสมาธิวิปัสสนาตอนกลางคืนเป็นประจำ เจดีย์สององค์น่าทางเข้าโบสถ์ของวัดนี้ องค์หนึ่งน่าจะบรรจุพระอัฐิของพระเพทราชาไว้ภายในและอีกองค์หนึ่งที่อยู่ใกล้กันน่าจะบรรจุอัฐิของพระอาจารย์ของท่านที่เป็นพระสงฆ์และเป็นอดีตเจ้าอาวาสของวัดนี้ วัดนี้มีพระอุโบสถโค้งแบบท้องเรือสำเภาซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของศิลปอยุธยาตอนปลาย วัดนี้ชื่อเดิมไม่ได้ชื่อ วัดพระยาแมน แต่ไม่ทราบว่าชื่อวัดอะไร วัดนี้มีมาก่อนสมัยพระเพทราชา เป็นวัดสมัยอยุธยาตอนกลางแต่ในสมัยพระเพทราขาพระองค์ทรงให้สร้างวัดนี้ใหม่เหมือนที่เราเห็นในปัจจุบันเพื่อแสดงความเคารพและยกย่องพระอาจารย์ของพระองค์ครับ ขอขอบคุณ อ.ฉันทัสและคุณตั้มที่นำชมวัดนี้ คนไทยส่วนใหญ่ไม่รู้จักวัดนี้เพราะวัดนี้อยู่ลึกมาก ผมเคยไปเยี่ยมชมเมื่อ 5ปีก่อนครับ/ เอนกลาภ



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น