วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

สิทธิมนุษยชนที่ควรปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ

สิทธิมนุษยชนที่ควรปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ

สิทธิมนุษยชนที่ควรปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ

สรรพสิทธิ์ คุมปพันธ์

เมื่อ กล่าวถึงสิทธิมนุษยชน คงต้องอ้างอิงถึง ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการรับรองและประกาศโดยข้อมติสมัชชา สหประชาชาติที่ 217 เอ (III) วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491ซึ่งบัญญัติความหมายของสิทธิมนุษยชนไว้โดยละเอียด โดยเฉพาะเจตนารมณ์ที่เขียนไว้ในอารัมภบทว่า
“โดยที่การยอมรับ ศักดิ์ศรีแต่กำเนิด และสิทธิที่เท่าเทียมกันและที่ไม่อาจเพิกถอนได้ของสมาชิกทั้งมวลแห่งครอบ ครัวมนุษยชาติ เป็นพื้นฐานแห่งอิสรภาพ ความยุติธรรม และสันติภาพในโลก  โดยที่การไม่นำพาและการหมิ่นในคุณค่าของสิทธิมนุษยชน ยังผลให้มีการกระทำอันป่าเถื่อนซึ่งเป็นการขัดอย่างร้ายแรงต่อมโนธรรม ของมนุษยชาติ และการมาถึงของโลกที่ได้มีการประกาศให้ความมีอิสรภาพในการพูดและความเชื่อ และอิสรภาพจากความหวาดกลัวและความต้องการของมนุษย์ เป็นความปรารถนาสูงสุดของประชาชนทั่วไป
โดยที่เป็นการจำเป็นที่ สิทธิมนุษยชนควรได้รับความคุ้มครองโดยหลักนิติธรรม ถ้าจะไม่บังคับให้คนต้องหันเข้าหาการลุกขึ้นต่อต้านทรราชและการกดขี่ซึ่ง เป็นวิถีทางสุดท้าย
โดยที่ประชาชนแห่งสหประชาชาติได้ยืนยันอีก ครั้งไว้ในกฎบัตรถึงศรัทธาในสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน ในศักดิ์ศรีและค่าของมนุษย์ และในสิทธิที่เท่าเทียมกันของบรรดาชายและหญิง และได้มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความก้าวหน้าทางสังคมและมาตรฐานแห่งชีวิตที่ดี ขึ้นในอิสรภาพอันกว้างขวางยิ่งขึ้น”

กติการะหว่าง ประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) ได้รับรองไว้ในอารัมภบทไว้เช่นกันว่า “ยอมรับว่า สิทธิเหล่านี้มาจากศักดิ์ศรีแต่กำเนิดของมนุษย์” ย่อมสะท้อนให้เห็นว่าสิทธิมนุษยชน มีอยู่ทั้งก่อนหน้าที่จะบังเกิดรัฐหรืออำนาจรัฐและหลังจากรัฐถูกสถาปนาขึ้น  ดังนั้น สิทธิมนุษยชนที่ควรปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญ จึงมิได้มีแต่ตามอำนาจหน้าที่ของรัฐที่จะจัดให้ดังที่กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2559 อธิบาย
ตัวอย่างของบทบัญญัติของสิทธิข้างต้นปรากฏ อยู่ใน กฎหมาย(สิทธิมนุษยชน)ระหว่างประเทศสองฉบับ กล่าวคือ 1. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights – ICCPR) 2. กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม(International Convent on Economic, Social and Cultural Rights – ICESCR) ที่ได้บัญญัติไว้ตรงกันทั้งสองฉบับทุกประการคือ
ข้อ ๑
๑. ประชาชาติทั้งปวงมีสิทธิกำหนดเจตจำนงของตนเอง  โดยสิทธินั้น ประชาชาติเหล่านั้นจะกำหนดสถานะทางการเมืองของตนโดยเสรี และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนอย่างเสรี
๒. เพื่อจุดมุ่งหมายของตน ประชาชาติทั้งปวง อาจจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่างเสรีโดยไม่กระทบต่อ พันธกรณีใด ๆ  อันเกิดจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของ หลักการแห่งผลประโยชน์ร่วมกันและกฎหมายระหว่างประเทศ ประชาชาติจะไม่ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพของตนไม่ว่าในกรณีใด
๓. รัฐภาคีแห่งกติกานี้ รวมทั้งรัฐที่รับผิดชอบในการบริหารดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองและดินแดนในภา วะทรัสตี จะต้องส่งเสริมให้สิทธิในการกำหนดเจตจำนงของตนเองมีผลจริงจัง และจะต้องเคารพสิทธินั้น ตามบทบัญญัติแห่งกฎบัตรสหประชาชาติ

ความ หมายของข้อนี้คือ รัฐจะต้องไม่ไปก้าวก่ายแทรกแซงสิทธิดังกล่าวหรือให้การรับรองแล้วบังคับการ ให้เป็นไปตามนั้น มิใช่รัฐเป็นผู้ให้สิทธิแต่ประการใด 
เมื่อ พิจารณาจากบทบัญญัติของกติกาสากลสองฉบับข้อ1 ที่มีข้อความคือ “ประชาชาติทั้งปวงมีสิทธิกำหนดเจตจำนงของตนเอง  โดยสิทธินั้น ประชาชาติเหล่านั้นจะกำหนด................ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของตนอย่างเสรี” และ “เพื่อจุดมุ่งหมายของตน ประชาชาติทั้งปวง อาจจัดการโภคทรัพย์และทรัพยากรธรรมชาติของตนได้อย่าง เสรี....................................................ประชาชาติจะไม่ ถูกลิดรอนวิถีทางยังชีพของตนไม่ว่าในกรณีใด” ดังนั้นสิทธิมนุษยชนหรือสิทธิชุมชนย่อมรวมถึงอำนาจในการบริหารจัดการ ทรัพยากรธรรมชาติ ให้สอดคล้องกับวิถีการดำรงชีวิตของตน ตัวอย่างเช่นการอยู่อาศัยในป่าที่กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลทางธรรมชาติได้ โดยรัฐไม่อาจแทรกแซง เว้นแต่การอยู่อาศัยข้างต้นจะก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ  หรือทำให้เกิดภาวะที่ไม่สมดุลของธรรมชาติ หากวิถีการดำรงชีวิตที่ว่า ได้อาศัยป่าหล่อเลี้ยงชีพของตนโดยไม่ทำการค้าหากำไร รัฐพึงให้การรับรอง  หรือวิถีประมงพื้นบ้านที่สอดคล้องกลมกลืนกับวัฏจักรชีวิตในทะเล ได้แก่เรือประมงและเครื่องมือที่ไม่ได้ใช้เครื่องจักรกลในการจับปลา ใช้แต่แรงงานคน ไม่แตะต้องปลาเล็กปลาน้อยลูกปลา จับปลาเฉพาะที่โตเต็มที่แล้ว ไม่จับปลาในช่วงฤดูวางไข่ เป็นต้น รัฐไม่บังควรเข้าไปควบคุมเหมือนเรือประมงที่จับปลาในลักษณะตรงกันข้าม
บ่อ เกิดของสิทธิชุมชนนั้นอยู่ที่ไหน ในเมื่อรัฐบังเกิดขึ้นมาภายหลังชุมชน คำตอบที่ชัดเจนที่สุดอยู่ที่”จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น” ซึ่งบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔
มาตรา ๔ กฎหมายนั้น ต้องใช้ในบรรดากรณีซึ่งต้องด้วยบทบัญญัติใดๆ แห่งกฎหมายตามตัวอักษร หรือตามความมุ่งหมายของบทบัญญัตินั้นๆ
เมื่อ ไม่มีบทกฎหมายที่จะยกมาปรับคดีได้ ให้วินิจฉัยคดีนั้นตาม”จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น” ถ้าไม่มีจารีตประเพณีเช่นว่านั้น ให้วินิจฉัยคดีอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง และถ้าบทกฎหมายเช่นนั้นก็ไม่มีด้วย ให้วินิจฉัยตามหลักกฎหมายทั่วไป
ดัง นั้น”จารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น”นี่แหละที่ให้กำเนิดสิทธิชุมชนที่ประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้ให้การรับรองไว้ในบางมาตรา อาทิเช่น
มาตรา ๑๓๕๔ ถ้ามีจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นให้ทำได้และถ้าเจ้าของไม่ห้าม บุคคลอาจเข้าไปในที่ป่า ที่ดง หรือในที่มีหญ้าเลี้ยงสัตว์ซึ่งเป็นที่ดินของผู้อื่น เพื่อเก็บฟืน หรือผลไม้ป่า ผักเห็ด และสิ่งเช่นกัน
มาตรา ๑๓๐๔ สาธารณสมบัติของแผ่นดินนั้น รวมทรัพย์สินทุกชนิดของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์หรือสงวนไว้เพื่อ ประโยชน์ร่วมกัน เช่น
(๑) ที่ดินรกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมาเป็นของแผ่นดินโดยประการอื่น ตามกฎหมายที่ดิน
(๒) ทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เป็นต้นว่าที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ
(๓) ทรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ เป็นต้นว่าป้อม และโรง ทหาร สำนักราชการบ้านเมือง เรือรบ อาวุธยุทธภัณฑ์
สำหรับ สิทธิมนุษยชนที่รัฐมีหน้าที่ต้องจัดให้และควรอยู่บทบัญญัติที่เกี่ยวกับ หน้าที่และความรับผิดชอบที่รัฐพึงปฏิบัติ อาทิ เช่น  สิทธิที่จะได้รับบริการต่างๆจากรัฐ ไม่ว่าด้านสุขภาพ การศึกษา สังคม(ประกันสังคมและสังคมสงเคราะห์) เศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร การคมนาคมขนส่ง การเกษตร ฯลฯ  สิทธิที่จะได้ความคุ้มครองให้ปลอดภัย (ในหนังสือเดินทางยุคหนึ่ง มักจะมีข้อความระบุว่า ผู้ถือหนังสือเดินทางเป็นพลเมืองของประเทศ.....และได้รับการคุ้มครองโดย กฎหมายของประเทศ...)  ฯลฯ 
สรุปคือรัฐธรรมนูญจะต้องมีบทบัญญัติ ที่ครอบคลุมถึงสิทธิที่มาจากศักดิ์ศรีแต่กำเนิดของมนุษย์ อย่างน้อยจึงควรบัญญัติไว้ในบททั่วไปเลยว่า “ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค บรรดาที่ชนชาวไทยเคยได้รับการคุ้มครองตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือตามจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่น และตามพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว ย่อมได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญนี้”

ทั้งนี้ควรบัญญัติให้ประชาชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารรัฐกิจของพลเมืองโดยตรง ไว้ในรัฐธรรมนูญ อาทิ เช่น 
ก) สิทธิในการเข้าชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายแก่สภาผู้แทนราษฎร โดยต้องรับหลักการเสมอ หากเป็นร่างฯที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนหรือประโยชน์สาธารณะ โดยไม่ขัดต่อความมั่นคงแห่งรัฐ หรือความปลอดภัย ความสงบเรียบร้อย การสาธารณสุข หรือศีลธรรมของประชาชนหรือละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้หนึ่งผู้ใด ต้องไม่ซ้ำซ้อนหรือขัดต่อกฎหมายที่มีอยู่แล้ว
ข) สิทธิในการเข้าชื่อเพื่อคัดค้านการกระทำหรือการงดเว้นการกระทำอย่างใดอย่าง หนึ่งของรัฐ รวมทั้งการอนุมัติโครงการ การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การจัดสรรงบประมาณ ที่ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม มีการเลือกปฏิบัติ หรือมีผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนกลุ่มต่างๆโดยไม่รับฟังความคิด เห็นของประชาชนกลุ่มนั้นๆ โดยอาจเสนอเรื่องให้ฝ่ายตุลาการเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายลำดับรอง
ค) สิทธิในการเข้าชื่อเพื่อเสนอให้รัฐบาลกระทำการใดๆที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน หรือประโยชน์สาธารณะหรือในการบริหารรัฐกิจ รวมทั้งขอให้จัดสรรงบประมาณแผ่นดินอย่างเป็นธรรมทั่วถึงและเสมอภาคในเรื่อง ที่มีความจำเป็นต่อประโยชน์สาธารณะหรือ หากรัฐบาลไม่รับข้อเสนอโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ต้องเริ่มต้นกระบวนการไกล่เกลี่ยในทันที รัฐบาลต้องแต่งตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ยโดยมาจากการเสนอรายชื่อจากรัฐบาลและ กลุ่มที่เข้าชื่อที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับจำนวนเท่ากัน ดำเนินการไกล่เกลี่ย

ส่วน ประเด็นที่กรรมาธิการร่างฯบางคนให้เหตุผลว่า บทบัญญัติเกี่ยวกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญควรมีอยู่สั้นๆ ทั้งนี้จะนำรายละเอียดไปบรรจุไว้ในกฎหมายลูกนั้น เป็นเหตุผลที่ไม่อาจรับฟังเนื่องจากเมื่อไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจ หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญไว้ ย่อมเป็นการเปิดช่องให้นักการเมืองกำหนดหรือเปลี่ยนแปลงได้โดยง่าย เมื่อได้รับเสียงสนับสนุนเกินกว่ากึ่งหนึ่งในสภาฯ
ดังนั้นจึงควรกำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ( กสม.) ไว้ในรัฐธรรมนูญดังนี้ครับ
1.ตรวจ สอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามพันธกรณี ระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการ กระทำดังกล่าวเพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อ ดำเนินการต่อไป
2.ส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานระหว่าง หน่วยราชการ องค์การเอกชน และองค์การอื่นในด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งในและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อให้เกิดการสร้างเครือข่ายการทำงานระหว่างนักสิทธิมนุษยชน การคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่นักสิทธิมนุษยชน
3.จัดทำรายงานประจำปีเพื่อประเมินสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศเสนอต่อรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี และเปิดเผยต่อสาธารณชน
 .............................................


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น