อัยการกับการสั่งคดีโดยเที่ยงธรรม
กุลพล พลวัน*
ด้วยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 วรรคสอง บัญญัติว่า
“พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม” โดยที่ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากสำนักงานอัยการสูงสุดให้เป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและยกร่างมาตรา 255 ดังกล่าว เพื่อเสนอต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติในการยกร่างรัฐธรรมนูญ ประกอบกับเป็นผู้บรรยายวิชากฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา จึงขอวิเคราะห์ว่า “สั่งคดีโดยเที่ยงธรรมของอัยการ” ดังต่อไปนี้
การสั่งคดีโดยเที่ยงธรรมตามความเห็นของผู้เขียนควรประกอบด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. มีพยานหลักฐานทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบการพิจารณาเพื่อสั่งคดีอย่างสมบูรณ์
2. มีหลักประกันความเป็นอิสระเพื่อให้การสั่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
3. มีมาตรการกลั่นกรองดุลพินิจในการสั่งคดีของอัยการที่เชื่อถือได้
โดยแยกพิจารณาตามลำดับดังนี้
1. มีพยานหลักฐานทั้งที่เป็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายประกอบการพิจารณาเพื่อสั่งคดีอย่างสมบูรณ์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ต่อไปขอเรียกชื่อย่อว่า “ป.วิ.อาญา”) ของไทยได้แยกหน้าที่ในการสอบสวนคดีอาญาชั้นต้นออกจากกันระหว่างตำรวจและอัยการกล่าวคือ ในประเทศไทยอัยการไม่ได้ร่วมสอบสวนคดีอาญากับพนักงานสอบสวนตั้งแต่ต้นเหมือนหลายประเทศ โดยตำรวจจะมีอำนาจหน้าที่สอบสวนคดีตั้งแต่เริ่มแรกแต่ผู้เดียว จนเห็นว่าการสอบสวนเสร็จสิ้นแล้วจึงจะเสนอความเห็นต่ออัยการ เช่น ควรงดการสอบสวน ควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ฯลฯ โดยอัยการจะเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่พิจารณากลั่นกรองสำนวนการสอบสวนจากตำรวจ และมีอำนาจสอบสวนโดยการสั่งสอบสวนเพิ่มเติมหรือซักถามพยานเองก็ได้ ตามมาตรา 143 แห่ง ป.วิ.อาญา
อย่างไรก็ดี แม้กฎหมายจะแยกหน้าที่ในการสอบสวนของพนักงานสอบสวนกับอัยการออกจากกัน แต่อำนาจของทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการถูกบัญญัติรวมกันในภาคที่ 2 (สอบสวน) ของ ป.วิ.อาญา กล่าวคือ ตราบใดที่อัยการยังไม่ได้มีคำสั่งในคดี เช่น สั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้อง ก็ยังถือว่า คดีอยู่ในชั้นสอบสวนเสมอ เพียงแต่อำนาจการสอบสวนของอัยการจะเกิดขึ้น ก็เมื่อได้รับสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยความเห็นจากพนักงานสอบสวนแล้วเท่านั้น โดยอัยการจะมีอำนาจในการสั่งสอบสวนเพิ่มเติม หรือสอบปากคำพยานเองก็ได้ ตามมาตรา 143 และการแสวงหาพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนและอัยการใช้ “ระบบไต่สวน” ร่วมกันคือ เป็นไปตามมาตรา 131 ที่บัญญัติว่า “ให้พนักงานสอบสวนรวบรวมหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ เพื่อประสงค์จะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่าง ๆ อันเกี่ยวกับความผิดที่ถูกกล่าวหาเพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิดหรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา”
ดังนั้น ในการพิจารณากลั่นกรองการสอบสวนของพนักงานสอบสวน อัยการก็จะใช้หลักตามมาตรา 131 ซึ่งเป็นหลักการในระบบไต่สวนเช่นเดียวกันคือ แสวงหาพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่สามารถจะทำได้ ไม่ว่าจะเป็นพยานที่พนักงานสอบสวนเห็นสมควร พยานของผู้ต้องหาหรือพยานอื่น ๆ ที่เห็นสมควร การพิจารณาสั่งคดีในชั้นอัยการจึงไม่ใช้หลักการยกประโยชน์ข้อสงสัยให้แก่ผู้ต้องหาเพราะหากเห็นว่าพยานหลักฐานจากการสอบสวนยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็จะสั่งให้มีการสอบสวนเพิ่มเติมตามมาตรา 143 ต่อไป หากทำการสอบสวนทุกชนิดแล้ว พยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดผู้ต้องหาในศาล ก็จะมีคำสั่งไม่ฟ้อง แต่หากยังมีข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาอาจจะกระทำผิดและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดในศาลได้ อัยการจะใช้หลักยกประโยชน์ข้อสงสัยให้แก่รัฐคือ ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาลเพื่อพิสูจน์ความผิดต่อไป
แต่ปัญหาสำคัญยิ่งของการสั่งสอบสวนเพิ่มเติมตามมาตรา 143 นั้น มีอยู่หลายประการและเป็นปัญหาเรื้อรังมาช้านานทำให้อัยการมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายไม่เพียงพอจึงอาจสั่งคดี โดยคลาดเคลื่อนได้โดยง่ายและเกิดผลกระทบโดยตรงแก่สิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหา ซึ่งจำต้องได้รับการแก้ไขในเรื่องนี้มิฉะนั้นจะทำให้เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 255 วรรคสอง ไม่มีผลจริงจังในทางปฏิบัติ
อย่างไรก็ดี การสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องคดีของอัยการนั้น ยังมิใช่ขั้นตอนการพิสูจน์ความผิดของผู้ถูกกล่าวหา แต่เป็นเพียงขั้นตอนวินิจฉัยว่า พยานหลักฐานน่าเชื่อหรือไม่ว่าผู้ต้องหากระทำผิด และมีพยานหลักฐานเพียงพอพิสูจน์ความผิดในศาลหรือไม่เท่านั้น ส่วนผู้ต้องหาจะกระทำผิดตามฟ้องหรือไม่ขึ้นอยู่กับคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาล ดังนั้น ป.วิ.อาญา มาตรา 143 ซึ่งเป็นมาตราสำคัญในการสั่งคดีของอัยการจึงใช้ถ้อยคำว่า “เมื่อมีความเห็นควรสั่งฟ้องให้ออกคำสั่งฟ้อง เมื่อมีความเห็นควรสั่งฟ้องให้ออกคำสั่งฟ้อง เมื่อมีความเห็นควรสั่งไม่ฟ้องให้ออกคำสั่งไม่ฟ้องกฎหมายมิได้บัญญัติว่าเมื่อเห็นว่าผิดหรือไม่ผิด” แต่อย่างใด ซึ่งต่างกับการพิพากษาของศาลที่เป็นการวินิจฉัยความผิดของผู้ถูกกล่าวหาแล้ว ป.วิ.อาญา มาตรา 185 จึงบัญญัติว่าเมื่อศาลเห็นว่าจำเลยกระทำผิดหรือมิได้กระทำผิด ทำให้คำพิพากษาของศาลมีผลเสร็จเด็ดขาด และทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตามมาตรา 39 (4)
การมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องผู้ต้องหาของอัยการ จึงไม่มีผลเสร็จเด็ดขาดเหมือนคำพิพากษาของศาล การที่อัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องไม่มีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปเหมือนคำพิพากษาศาล หากในโอกาสต่อไปนี้มีพยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีก็อาจมีการรื้อฟื้นสอบสวนและฟ้องกันใหม่ได้ภายในอายุความ ตามบทบัญญัติของมาตรา 147
ในกรณีที่อัยการมีคำสั่งฟ้องและยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว กระบวนการพิจารณาคดีในศาลไทยเป็นไปตามระบบกล่าวหา ซึ่งจะต่างกับในชั้นสอบสวนและในชั้นการสั่งคดีของอัยการที่ใช้ “ระบบไต่สวน” โดยทั้งพนักงานสอบสวนและอัยการจะร่วมกันค้นหาความจริงตามหลักการในมาตรา 131 แต่ในชั้นศาลนั้นใช้ระบบกล่าวหากล่าวคือ เป็นระบบต่อสู้คดีกันระหว่างโจทก์-จำเลย โดยโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบพยานก่อน เพื่อให้ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำผิดจริงตามฟ้อง หากมีข้อสงสัยศาลอาจยกประโยชน์ข้อสงสัยให้แก่จำเลยได้ ส่วนจำเลยมีสิทธินำสืบพยานหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ของตน และศาลจะวางตนเป็นกลางอย่างเคร่งครัดรับฟังพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย แล้วพิพากษาไปตามรูปคดี
ดังนั้น การสั่งฟ้องคดีของอัยการจึงต้องตระหนักอยู่เสมอว่า หากสั่งฟ้องโดยพยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดผู้ต้องหาในศาลแล้ว จะมีผลกระทบอย่างสูงต่อทั้งสิทธิและเสรีภาพของจำเลยที่อาจถูกกักขังในระหว่างการพิจารณาคดีของศาล ได้รับความทุกข์ทรมานทั้งกายและใจ รวมทั้งบุคคลในครอบครัวจะได้รับผลกระทำจากการที่หัวหน้าครอบครัวถูกขังเป็นเวลานาน ดังเช่นคดีของ น.ส.เชอรี่แอน ดันแคน ที่จำเลยทั้ง 5 ถูกขังระหว่างการพิจารณาคดีถึงประมาณ 10 ปี เมื่อศาลฎีกาพิพากษาว่าทั้งหมดเป็นผู้บริสุทธิ์ ก็ปรากฏว่าจำเลยบางคนได้เสียชีวิตไปแล้วในเรือนจำบางคนก็กลายเป็นผู้พิการและถูกขังเป็นเวลานานเกินไป เป็นที่สลดใจของคนไทยทั่วประเทศ เป็นต้น นอกจากนั้นกรณีที่ศาลพิพากษายกฟ้องเนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอพิสูจน์ความผิดจำเลยนั้น ก็จะทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องระงับไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 39 (4) แม้ต่อมามีพยานหลักฐานใหม่ที่แสดงว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดก็ไม่สามารถฟ้องจำเลยนั้นได้อีก เพราะจะเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย ทำให้ผู้กระทำผิดรอดพ้นจากการถูกลงโทษตามกฎหมาย
สถิติการสั่งฟ้องและสั่งไม่ฟ้องของอัยการทั่วประเทศในปี พ.ศ. 2551-2552 ปรากฏดังต่อไปนี้
สถิติความอาญาปรากฏผู้ต้องหาที่ส่งตัวมาที่พนักงานอัยการพิจารณาสั่ง ปี 2551-2552
พ.ศ.
|
คดีรับใหม่
|
ร้อยละ
|
สั่งฟ้อง
|
ร้อยละ
|
สั่งไม่ฟ้อง
|
ร้อยละ
|
อื่น ๆ
|
ร้อยละ
|
2551
|
502,947
|
100
|
483,230
|
96.08
|
9,172
|
1.82
|
9,413
|
1.87
|
2552
|
533,264
|
100
|
502,544
|
94.24
|
8,535
|
1.60
|
20,872
|
3.91
|
นอกจากนั้นในปัจจุบันกรณีที่อัยการมีคำสั่งฟ้องแล้ว หากศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าจำเลยมิได้เป็นผู้กระทำผิดให้ยกฟ้องนั้น รัฐยังจะต้องจ่ายเงินแก่จำเลยด้วยตาม “พระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544” ปรากฏว่าในแต่ละปีรัฐต้องจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ศาลพิพากษายกฟ้องเป็นจำนวนมาก ดังปรากฏสถิติของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกระทรวงยุติธรรม ในปี พ.ศ. 2551-2552 ดังต่อไปนี้ คือ
- ปี พ.ศ. 2551 มีจำเลยได้รับเงินช่วยเหลือ 3,377 ราย รวมเงินที่ต้องจ่าย 41,349,466.00 บาท
- ปี พ.ศ. 2552 มีจำเลยได้รับเงินช่วยเหลือ 3,730 ราย รวมเงินที่ต้องจ่าย 32,190,105.00 บาท สถิติดังกล่าวปรากฏเฉพาะจำเลยที่มาแสดงตนขอรับเงินช่วยเหลือแต่ในทางปฏิบัติเชื่อว่ามีจำเลยอีกจำนวนมากที่ศาลพิพากษายกฟ้อง และมิได้แสดงตนมาขอรับเงินช่วยเหลือดังกล่าว หากมาแสดงตนครบทุกคนน่าเชื่อว่าเงินที่รัฐต้องจ่ายจะมีจำนวนสูงกว่านี้มาก
อนึ่ง การสั่งคดีของอัยการในประเทศไทยได้ใช้หลักการฟ้องตามดุลพินิจ (Opportunity Principle) กล่าวคือ แม้พยานหลักฐานจากการสอบสวนน่าเชื่อว่าผู้ต้องหากระทำผิดและผู้ต้องหายอมรับสารภาพ แต่หากอัยการพิจารณาว่าการฟ้องศาลอาจมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นคงหรือประโยชน์อันสำคัญยิ่งของประเทศชาติ หรือกระทบต่อความรู้สึกในทางศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมได้ประโยชน์จากการฟ้องนี้หรือไม่ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าผลเสียมีมากกว่าผลดี อัยการก็อาจมีคำสั่งไม่ฟ้องได้ ซึ่งเรียกกันว่า การสั่งไม่ฟ้องตามนโยบายเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Policy) ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 78 ดังเช่น กรณีเด็กหนุ่มอายุ 18 ปีกว่า มีหน้าที่ขายซาลาเปาในห้างสรรพสินค้า ได้แอบหยิบซาลาเปาให้น้องชาย 1 ลูก ราคาเพียง 10 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง แต่อัยการสูงสุดพิจารณาเห็นว่าผู้ต้องหาอายุเพียง 18 ปีกว่า กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทรัพย์ราคาเพียง 10 บาท หากสั่งฟ้องคดีจะเป็นผลร้ายแก่ชีวิตในระยะยาวของเขา เพราะแม้ศาลจะพิพากษารอลงอาญาให้เขาก็จะมีทะเบียนประวัติอาชญากรว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงจำคุก ฐานลักทรัพย์ ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในที่สุด
ปัจจุบันมีอัยการหลายประเทศที่ใช้หลักการฟ้องตามดุลพินิจนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ และสหประชาชาติก็สนับสนุนให้อัยการทุกประเทศใช้หลักการฟ้องตามดุลพินิจให้มากยิ่งขึ้น เพราะทำให้อัยการสามารถปรับดุลพินิจให้เข้ากับสภาวการณ์ของหลักกฎหมายเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายทุกครั้งไปสำหรับประเทศไทยซึ่งได้รับแนวความคิดในระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจากอังกฤษตั้งแต่การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้ใช้หลักการฟ้องนี้มาตั้งแต่ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ. 127 จนกระทั่งปัจจุบัน
2. มีหลักประกันความเป็นอิสระเพื่อให้การสั่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
จากความสำคัญของการสั่งคดีของอัยการที่มีต่อผู้ถูกกล่าวหา ผู้เสียหาย และกระบวนการยุติธรรมของรัฐดังกล่าวข้างต้น การกำหนดแนวทางมาตรฐานการสั่งคดี และการให้หลักประกันความเป็นอิสระในการสั่งคดีของอัยการจึงถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศจำต้องจัดให้มีขึ้น
ดังเช่น สหประชาชาติได้จัดทำเอกสารนี้เรียกว่า “แนวทางว่าด้วยบทบาทของอัยการ ค.ศ. 1990” ข้อ 2.1 ระบุว่า “อัยการพึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม ต่อเนื่อง และรวดเร็ว ตลอดจนเคารพ และคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และคำนึงสิทธิมนุษยชน...”และข้อ 4 บัญญัติมีข้อความตอนหนึ่งว่า “4. รัฐพึงดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าอัยการสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทแห่งวิชาชีพโดยปลอดจากการถูกข่มขู่ คุมคาม หรือแทรกแซงที่ไม่สมควร และปลอดจากความรับผิดทางแพ่ง อาญา หรือความรับผิดอื่นๆ ที่ไม่ชอบธรรม”
สมาคมอัยการระหว่างประเทศได้จัดทำเอกสารที่เรียกว่า “มาตรฐานความรับผิดชอบในวิชาชีพและประกาศว่าด้วยสิทธิและหน้าที่อันสำคัญยิ่งของอัยการ ค.ศ. 1999” ข้อ 3 ระบุว่า “อัยการพึงปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างปราศจากความหวั่นกลัว ความลำเอียง หรืออคติ...”
ในอดีตองค์กรอัยการได้เคยยืนหยัดความเป็นอิสระไม่ยอมสั่งคดีตามความต้องการของทางการเมืองโดยไม่หวั่นเกรงต่อผลกระทบที่เกิดตามมาต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ดังปรากฏตามบันทึกของ พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี อดีตอธิบดีกรมอัยการ ซึ่งได้ถวายความเห็นเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2471 แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเรื่องที่ทางราชการประสงค์จะให้ฟ้องหลวงภัณฑลักษณ์วิจารณ์ในทางอาญาฐานสร้างถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ตามหลักฐานฟังได้ว่าผู้ต้องหามิได้กระทำผิด บันทึกดังกล่าวมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“...ในข้อที่ว่าจะให้ทำเป็นคดีตัวอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก้ไม่เห็นพ้องด้วย เพราะการที่จะให้บุคคลต้องเข้าทดลองเป็นจำเลยในคดีอาญานั้น เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่าไม่เป็นการสมควร และนึกไม่ออกว่าเขาทำกันในที่อื่นเพราะการเข้าเป็นจำเลยในคดีอาญา นอกจากจะทำให้บุคคลนั้นหน้าด้านต่อการเป็นจำเลยในคดีอาญา ซึ่งไม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขึ้นแล้ว บางทียังอาจเป็นผลร้ายแก่จำเลยบุคคลนั้น เช่น ถูกกักขังในเมื่อหาประกันไม่ทันท่วงที เป็นต้น
ในเรื่องนี้ ถ้าหากทางราชการประสงค์จะฟ้องหลวงภัณฑ ฯ ในทางอาญาให้ได้แล้วข้าพระพุทธเจ้าสมัครที่จะให้ทางราชการวินิจฉัยเสียให้เด็ดขาดว่า ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้านั้นผิด โดยที่ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ถือเลยว่า ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าจะไม่อาจผิดได้ แต่เมื่อเวลานี้ยังไม่มีใครยืนยันว่าความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าผิดแล้ว การที่จะทดลองฟ้องไปนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าไม่เป็นหลักที่ดี...”
ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 วรรคสอง บัญญัติให้หลักประกันความเป็นอิสระของอัยการในการสั่งคดีไว้ มีข้อความว่า
“พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม”
อย่างไรก็ดี การที่อัยการจะสามารถสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำต้องมีปัจจัยที่จำเป็นอื่น ๆประกอบด้วย ปัจจัยดังกล่าว เช่น ต้องมีระบบการบริหารงานบุคคลที่ดีและมีงบประมาณที่พอเพียงมาส่งเสริมสนับสนุนให้อัยการสามารถดำรงตนในทางที่รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตนได้อย่างเหมาะสมด้วย ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 วรรคห้า จึงบัญญัติว่า
“องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
3.มีมาตรการกลั่นกรองดุลพินิจในการสั่งคดีของอัยการที่เชื่อถือได้
เมื่อมีมาตรการทางกฎหมายทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ให้หลักประกันความเป็นอิสระในการสั่งคดีของอัยการไว้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จำต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อตรวจสอบดุลพินิจของอัยการให้เป็นไปโดยชอบด้วยหลักแห่งนิติธรรมและโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้จากหลายฝ่าย
สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบกล่าวหาเหมือนประเทศไทยก็มีมาตรการตรวจสอบดุลพินิจของอัยการหลายวิธี เช่น โดยการออกเสียงเลือกตั้งอัยการของประชาชนเฉพาะในมลรัฐที่ใช้วิธีการเลือกตั้ง โดยเนติบัณฑิตยสภาซึ่งเป็นองค์กรกลางที่ควบคุมดูแลการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายทุกสาขาวิชาชีพ หรือโดยการฟ้องศาลกรณีที่อัยการปฏิบัติผิดกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนการดำเนินคดีที่กำหนดไว้ แต่กรณีที่อัยการสหรัฐอเมริกามีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีตามปกติ ศาลสหรัฐ ฯ จะไม่เข้ามาตรวจสอบดุลพินิจ เพราะถือเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร ศาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ด้านการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังปรากฏตัวอย่างคำพิพากษาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาคดีหนึ่ง ซึ่งปฏิเสธการเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการสั่งคดีของอัยการไว้ว่า
“อัยการมีอำนาจเด็ดขาดในการฟ้องคดีอาญาและจะไม่ยอมฟ้องคดีก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจ เขาเป็นผู้รับผิดชอบโดยสิ้นเชิงไม่จำเป็นว่าศาลอนุญาตจึงจะทำได้ ศาลจะไปห้ามปรามขัดขวางเขาก็ไม่ได้ คำร้องที่เขาทำยื่นต่อศาล ก็เพื่อแจ้งให้ศาลรู้ว่าอัยการจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป และศาลจะได้จำหน่ายคดีที่โจทก์ไม่ต้องการออกเสียจากสารบบความ อำนาจที่จะวินิจฉัยว่าคดีใดควรฟ้องแล้วดำเนินไปให้ถึงที่สุดนั้น จำเป็นต้องตกอยู่กับใครสักคนหนึ่งและตามหลักการของกฎหมายคอมมอนลอว์ เขาถือเอาอัยการเป็นผู้รักษาอำนาจนี้” (คดีระหว่าง United States v.Woody)
สำหรับประเทศไทยมีกระบวนการตรวจสอบดุลพินิจหลายวิธีการ ทั้งตาม ป.วิ.อาญา ซึ่งเป็นการตรวจสอบโดยตรงและทางอ้อมตามกฎหมายอื่น ๆ การตรวจสอบโดยตรงเป็นไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 145 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดกล่าวคือ เมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในกรุงเทพมหานคร จะส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยคำสั่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ส่วนในต่างจังหวัดจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ หากทั้งสองตำแหน่งไม่เห็นด้วยกับการสั่งไม่ฟ้องของอัยการก็จะทำความเห็นแย้ง แล้วส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดความเห็นแย้งต่อไป สถิติการชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2551-2552 ปรากฏดังต่อไปนี้
- ปี พ.ศ. 2551 มีจำเลยได้รับเงินช่วยเหลือ 3,377 ราย รวมเงินที่ต้องจ่าย 41,349,466.00 บาท
- ปี พ.ศ. 2552 มีจำเลยได้รับเงินช่วยเหลือ 3,730 ราย รวมเงินที่ต้องจ่าย 32,190,105.00 บาท สถิติดังกล่าวปรากฏเฉพาะจำเลยที่มาแสดงตนขอรับเงินช่วยเหลือแต่ในทางปฏิบัติเชื่อว่ามีจำเลยอีกจำนวนมากที่ศาลพิพากษายกฟ้อง และมิได้แสดงตนมาขอรับเงินช่วยเหลือดังกล่าว หากมาแสดงตนครบทุกคนน่าเชื่อว่าเงินที่รัฐต้องจ่ายจะมีจำนวนสูงกว่านี้มาก
อนึ่ง การสั่งคดีของอัยการในประเทศไทยได้ใช้หลักการฟ้องตามดุลพินิจ (Opportunity Principle) กล่าวคือ แม้พยานหลักฐานจากการสอบสวนน่าเชื่อว่าผู้ต้องหากระทำผิดและผู้ต้องหายอมรับสารภาพ แต่หากอัยการพิจารณาว่าการฟ้องศาลอาจมีผลกระทบอย่างยิ่งต่อความมั่นคงหรือประโยชน์อันสำคัญยิ่งของประเทศชาติ หรือกระทบต่อความรู้สึกในทางศีลธรรมอันดีของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสังคมได้ประโยชน์จากการฟ้องนี้หรือไม่ หากพิจารณาแล้วเห็นว่าผลเสียมีมากกว่าผลดี อัยการก็อาจมีคำสั่งไม่ฟ้องได้ ซึ่งเรียกกันว่า การสั่งไม่ฟ้องตามนโยบายเพื่อประโยชน์สาธารณะ (Public Policy) ตามระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2547 ข้อ 78 ดังเช่น กรณีเด็กหนุ่มอายุ 18 ปีกว่า มีหน้าที่ขายซาลาเปาในห้างสรรพสินค้า ได้แอบหยิบซาลาเปาให้น้องชาย 1 ลูก ราคาเพียง 10 บาท ซึ่งเป็นความผิดฐานลักทรัพย์นายจ้าง แต่อัยการสูงสุดพิจารณาเห็นว่าผู้ต้องหาอายุเพียง 18 ปีกว่า กระทำผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ทรัพย์ราคาเพียง 10 บาท หากสั่งฟ้องคดีจะเป็นผลร้ายแก่ชีวิตในระยะยาวของเขา เพราะแม้ศาลจะพิพากษารอลงอาญาให้เขาก็จะมีทะเบียนประวัติอาชญากรว่าเคยต้องคำพิพากษาถึงจำคุก ฐานลักทรัพย์ ดังนั้น อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องในที่สุด
ปัจจุบันมีอัยการหลายประเทศที่ใช้หลักการฟ้องตามดุลพินิจนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฯลฯ และสหประชาชาติก็สนับสนุนให้อัยการทุกประเทศใช้หลักการฟ้องตามดุลพินิจให้มากยิ่งขึ้น เพราะทำให้อัยการสามารถปรับดุลพินิจให้เข้ากับสภาวการณ์ของหลักกฎหมายเศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยไม่จำต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎหมายทุกครั้งไปสำหรับประเทศไทยซึ่งได้รับแนวความคิดในระบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมจากอังกฤษตั้งแต่การปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็ได้ใช้หลักการฟ้องนี้มาตั้งแต่ประกาศใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม ร.ศ. 127 จนกระทั่งปัจจุบัน
2. มีหลักประกันความเป็นอิสระเพื่อให้การสั่งคดีเป็นไปโดยเที่ยงธรรม
จากความสำคัญของการสั่งคดีของอัยการที่มีต่อผู้ถูกกล่าวหา ผู้เสียหาย และกระบวนการยุติธรรมของรัฐดังกล่าวข้างต้น การกำหนดแนวทางมาตรฐานการสั่งคดี และการให้หลักประกันความเป็นอิสระในการสั่งคดีของอัยการจึงถือเป็นความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกประเทศจำต้องจัดให้มีขึ้น
ดังเช่น สหประชาชาติได้จัดทำเอกสารนี้เรียกว่า “แนวทางว่าด้วยบทบาทของอัยการ ค.ศ. 1990” ข้อ 2.1 ระบุว่า “อัยการพึงปฏิบัติหน้าที่อย่างเที่ยงธรรม ต่อเนื่อง และรวดเร็ว ตลอดจนเคารพ และคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และคำนึงสิทธิมนุษยชน...”และข้อ 4 บัญญัติมีข้อความตอนหนึ่งว่า “4. รัฐพึงดำเนินการให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าอัยการสามารถปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทแห่งวิชาชีพโดยปลอดจากการถูกข่มขู่ คุมคาม หรือแทรกแซงที่ไม่สมควร และปลอดจากความรับผิดทางแพ่ง อาญา หรือความรับผิดอื่นๆ ที่ไม่ชอบธรรม”
สมาคมอัยการระหว่างประเทศได้จัดทำเอกสารที่เรียกว่า “มาตรฐานความรับผิดชอบในวิชาชีพและประกาศว่าด้วยสิทธิและหน้าที่อันสำคัญยิ่งของอัยการ ค.ศ. 1999” ข้อ 3 ระบุว่า “อัยการพึงปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างปราศจากความหวั่นกลัว ความลำเอียง หรืออคติ...”
ในอดีตองค์กรอัยการได้เคยยืนหยัดความเป็นอิสระไม่ยอมสั่งคดีตามความต้องการของทางการเมืองโดยไม่หวั่นเกรงต่อผลกระทบที่เกิดตามมาต่อตำแหน่งหน้าที่ของตน ดังปรากฏตามบันทึกของ พระยาเทพวิทุรพหุลศรุตาบดี อดีตอธิบดีกรมอัยการ ซึ่งได้ถวายความเห็นเมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2471 แด่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในเรื่องที่ทางราชการประสงค์จะให้ฟ้องหลวงภัณฑลักษณ์วิจารณ์ในทางอาญาฐานสร้างถนนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานให้ได้ ทั้ง ๆ ที่ตามหลักฐานฟังได้ว่าผู้ต้องหามิได้กระทำผิด บันทึกดังกล่าวมีข้อความตอนหนึ่งว่า
“...ในข้อที่ว่าจะให้ทำเป็นคดีตัวอย่างนั้น ข้าพระพุทธเจ้าก้ไม่เห็นพ้องด้วย เพราะการที่จะให้บุคคลต้องเข้าทดลองเป็นจำเลยในคดีอาญานั้น เห็นด้วยเกล้า ฯ ว่าไม่เป็นการสมควร และนึกไม่ออกว่าเขาทำกันในที่อื่นเพราะการเข้าเป็นจำเลยในคดีอาญา นอกจากจะทำให้บุคคลนั้นหน้าด้านต่อการเป็นจำเลยในคดีอาญา ซึ่งไม่เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาขึ้นแล้ว บางทียังอาจเป็นผลร้ายแก่จำเลยบุคคลนั้น เช่น ถูกกักขังในเมื่อหาประกันไม่ทันท่วงที เป็นต้น
ในเรื่องนี้ ถ้าหากทางราชการประสงค์จะฟ้องหลวงภัณฑ ฯ ในทางอาญาให้ได้แล้วข้าพระพุทธเจ้าสมัครที่จะให้ทางราชการวินิจฉัยเสียให้เด็ดขาดว่า ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้านั้นผิด โดยที่ข้าพระพุทธเจ้ามิได้ถือเลยว่า ความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าจะไม่อาจผิดได้ แต่เมื่อเวลานี้ยังไม่มีใครยืนยันว่าความเห็นของข้าพระพุทธเจ้าผิดแล้ว การที่จะทดลองฟ้องไปนั้น ข้าพระพุทธเจ้าเห็นว่าไม่เป็นหลักที่ดี...”
ดังนั้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 วรรคสอง บัญญัติให้หลักประกันความเป็นอิสระของอัยการในการสั่งคดีไว้ มีข้อความว่า
“พนักงานอัยการมีอิสระในการพิจารณาสั่งคดีและการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปโดยเที่ยงธรรม”
อย่างไรก็ดี การที่อัยการจะสามารถสั่งคดีและปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จำต้องมีปัจจัยที่จำเป็นอื่น ๆประกอบด้วย ปัจจัยดังกล่าว เช่น ต้องมีระบบการบริหารงานบุคคลที่ดีและมีงบประมาณที่พอเพียงมาส่งเสริมสนับสนุนให้อัยการสามารถดำรงตนในทางที่รักษาเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพของตนได้อย่างเหมาะสมด้วย ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 255 วรรคห้า จึงบัญญัติว่า
“องค์กรอัยการมีหน่วยธุรการที่เป็นอิสระในการบริหารงานบุคคล การงบประมาณและการดำเนินการอื่น โดยมีอัยการสูงสุดเป็นผู้บังคับบัญชา ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”
3.มีมาตรการกลั่นกรองดุลพินิจในการสั่งคดีของอัยการที่เชื่อถือได้
เมื่อมีมาตรการทางกฎหมายทั้งรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่น ๆ ให้หลักประกันความเป็นอิสระในการสั่งคดีของอัยการไว้เป็นอย่างดีแล้ว ก็จำต้องมีมาตรการทางกฎหมายเพื่อตรวจสอบดุลพินิจของอัยการให้เป็นไปโดยชอบด้วยหลักแห่งนิติธรรมและโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้จากหลายฝ่าย
สำหรับในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศที่ใช้ระบบกล่าวหาเหมือนประเทศไทยก็มีมาตรการตรวจสอบดุลพินิจของอัยการหลายวิธี เช่น โดยการออกเสียงเลือกตั้งอัยการของประชาชนเฉพาะในมลรัฐที่ใช้วิธีการเลือกตั้ง โดยเนติบัณฑิตยสภาซึ่งเป็นองค์กรกลางที่ควบคุมดูแลการประกอบวิชาชีพทางกฎหมายทุกสาขาวิชาชีพ หรือโดยการฟ้องศาลกรณีที่อัยการปฏิบัติผิดกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนการดำเนินคดีที่กำหนดไว้ แต่กรณีที่อัยการสหรัฐอเมริกามีคำสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องคดีตามปกติ ศาลสหรัฐ ฯ จะไม่เข้ามาตรวจสอบดุลพินิจ เพราะถือเป็นดุลพินิจของฝ่ายบริหาร ศาลซึ่งมีอำนาจหน้าที่ด้านการพิจารณาพิพากษาคดีไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ดังปรากฏตัวอย่างคำพิพากษาของศาลสูงสุดสหรัฐอเมริกาคดีหนึ่ง ซึ่งปฏิเสธการเข้าไปตรวจสอบดุลพินิจการสั่งคดีของอัยการไว้ว่า
“อัยการมีอำนาจเด็ดขาดในการฟ้องคดีอาญาและจะไม่ยอมฟ้องคดีก็ได้แล้วแต่ดุลพินิจ เขาเป็นผู้รับผิดชอบโดยสิ้นเชิงไม่จำเป็นว่าศาลอนุญาตจึงจะทำได้ ศาลจะไปห้ามปรามขัดขวางเขาก็ไม่ได้ คำร้องที่เขาทำยื่นต่อศาล ก็เพื่อแจ้งให้ศาลรู้ว่าอัยการจะไม่ดำเนินคดีกับจำเลยต่อไป และศาลจะได้จำหน่ายคดีที่โจทก์ไม่ต้องการออกเสียจากสารบบความ อำนาจที่จะวินิจฉัยว่าคดีใดควรฟ้องแล้วดำเนินไปให้ถึงที่สุดนั้น จำเป็นต้องตกอยู่กับใครสักคนหนึ่งและตามหลักการของกฎหมายคอมมอนลอว์ เขาถือเอาอัยการเป็นผู้รักษาอำนาจนี้” (คดีระหว่าง United States v.Woody)
สำหรับประเทศไทยมีกระบวนการตรวจสอบดุลพินิจหลายวิธีการ ทั้งตาม ป.วิ.อาญา ซึ่งเป็นการตรวจสอบโดยตรงและทางอ้อมตามกฎหมายอื่น ๆ การตรวจสอบโดยตรงเป็นไปตาม ป.วิ.อาญา มาตรา 145 ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญที่สุดกล่าวคือ เมื่ออัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องในกรุงเทพมหานคร จะส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมด้วยคำสั่งไปยังผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ส่วนในต่างจังหวัดจะส่งไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนั้น ๆ หากทั้งสองตำแหน่งไม่เห็นด้วยกับการสั่งไม่ฟ้องของอัยการก็จะทำความเห็นแย้ง แล้วส่งไปยังอัยการสูงสุดเพื่อชี้ขาดความเห็นแย้งต่อไป สถิติการชี้ขาดความเห็นแย้งของอัยการสูงสุด ประจำปี พ.ศ. 2551-2552 ปรากฏดังต่อไปนี้
สถิติคดีที่อัยการสูงสุดชี้ขาดความเห็นแย้ง ปี พ.ศ. 2551 – 2552
พ.ศ.
|
สำนวนรับเข้า
|
ชี้ขาดให้ฟ้อง
|
ชี้ขาดไม่ฟ้อง
|
อย่างอื่น *
|
สั่งไม่ฟ้อง
|
ร้อยละ
|
อื่นๆ
|
ร้อยละ
|
2551
|
618
|
134
|
115
|
200
|
9,172
|
1.83
|
9,413
|
1.87
|
2552
|
618
|
111
|
83
|
201
|
8,535
|
1.60
|
20,872
|
3.91
|
*อย่างอื่น เป็นสถิติรวมของสั่งยุติ สั่งสอบเพิ่ม และอยู่ระหว่างพิจารณา
ส่วนการตรวจสอบโดยทางอ้อมเป็นวิธีการที่ใช้กับเจ้าหน้าที่รัฐและหน่วยงานของรัฐทั่วไป เช่น การตรวจสอบโดยคณะกรรมการ ป.ป.ช. หรือผู้ตรวจการแผ่นดิน หรือคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ รวมทั้งกรณีที่คู่กรณีใช้สิทธิฟ้องอัยการต่อศาลแพ่ง รวมทั้งกรณีที่คู่กรณีใช้สิทธิฟ้องอัยการต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา หรือศาลปกครอง หากเห็นว่าอัยการปฏิบัติไม่เป็นไปตามกฎหมายหรือระเบียบแบบแผนของทางราชการ เป็นต้น ฯลฯ แต่การตรวจสอบทางอ้อมนี้ มักจะไม่ใคร่ปรากฏขึ้นเท่าใดนัก
อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยไม่ได้ใช้หลักให้ศาลตรวจสอบการสั่งคดีตามปกติของอัยการเช่นเดียวกับหลักการในสหรัฐอเมริกา เพราะถือว่าการฟ้องคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหาร ส่วนศาลจะทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 157 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า
“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล...”
การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดน่าจะได้แก่การตรวจสอบภายในขององค์กรอัยการเอง กรณีมีผู้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมหรือกล่าวหาอัยการ หรือจากการตรวจคำพิพากษาฎีกามีกรณีสงสัยว่าอาจจะปฏิบัติงานบกพร่อง สำนักงานอัยการสูงสุดก็จะเรียกสำนวนคดีมาตรวจสอบโดยละเอียด หากพบว่าการปฏิบัติหน้าที่อาจเป็นการผิดวินัยข้าราชการ ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ดังนั้น กล่าวโดยสรุปความหมายหรือขอบเขตของการสั่งคดีหรือปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมของอัยการ ก็คือ ต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามพยานหลักฐานและตามกฎหมาย ดำรงในความยุติธรรมโดยปราศจากอคติ ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวต่ออำนาจอิทธิพลหรือการกดดันใดๆ เคารพและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และคำนึงสิทธิมนุษยชน หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติทุกกรณี ปฏิบัติอย่างเหมาะสมทั้งต่อผู้ถูกกล่าวหาและผู้เสียหาย อัยการจะต้องให้ความใส่ใจอย่างละเอียดรอบคอบต่อพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคดีโดยไม่คำนึงว่าตนจะได้รับผลกระทบในทางที่เป็นคุณหรือโทษจากผู้ต้องสงสัยหรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสังคมให้มีความสงบปลอดภัย และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้นั้นเอง
อย่างไรก็ดี ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยไม่ได้ใช้หลักให้ศาลตรวจสอบการสั่งคดีตามปกติของอัยการเช่นเดียวกับหลักการในสหรัฐอเมริกา เพราะถือว่าการฟ้องคดีอาญาเป็นอำนาจหน้าที่และดุลพินิจของฝ่ายบริหาร ส่วนศาลจะทำหน้าที่เป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีเมื่อมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วเท่านั้น ทั้งนี้ ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 157 วรรคแรก ซึ่งบัญญัติว่า
“การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาล...”
การตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดน่าจะได้แก่การตรวจสอบภายในขององค์กรอัยการเอง กรณีมีผู้ร้องเรียนขอความเป็นธรรมหรือกล่าวหาอัยการ หรือจากการตรวจคำพิพากษาฎีกามีกรณีสงสัยว่าอาจจะปฏิบัติงานบกพร่อง สำนักงานอัยการสูงสุดก็จะเรียกสำนวนคดีมาตรวจสอบโดยละเอียด หากพบว่าการปฏิบัติหน้าที่อาจเป็นการผิดวินัยข้าราชการ ก็จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป
ดังนั้น กล่าวโดยสรุปความหมายหรือขอบเขตของการสั่งคดีหรือปฏิบัติหน้าที่โดยเที่ยงธรรมของอัยการ ก็คือ ต้องเป็นไปโดยถูกต้องตามพยานหลักฐานและตามกฎหมาย ดำรงในความยุติธรรมโดยปราศจากอคติ ไม่เอนเอียงหรือหวั่นไหวต่ออำนาจอิทธิพลหรือการกดดันใดๆ เคารพและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และคำนึงสิทธิมนุษยชน หลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติทุกกรณี ปฏิบัติอย่างเหมาะสมทั้งต่อผู้ถูกกล่าวหาและผู้เสียหาย อัยการจะต้องให้ความใส่ใจอย่างละเอียดรอบคอบต่อพฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในคดีโดยไม่คำนึงว่าตนจะได้รับผลกระทบในทางที่เป็นคุณหรือโทษจากผู้ต้องสงสัยหรือผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ทั้งนี้ เพื่อคุ้มครองสังคมให้มีความสงบปลอดภัย และอำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนมากที่สุดเท่าที่จะสามารถกระทำได้นั้นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น