วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Joint Statement “World Theravada Buddhist Sangha Council” ข่าวสมัชชาสงฆ์เถรวาทโลก ยื่นหนังสือแก่ประธานาธิบดีศรีลังกา เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลศรีลังกาขอร้องให้รัฐบาลเลิกการจาบจ้วงคณะสงฆ์ไทย รวมถึงการกระทำทางกฏหมายที่เป็นการคุกคามพระสงฆ์ไทย


ข่าวสมัชชาสงฆ์เถรวาทโลก ยื่นหนังสือแก่ประธานาธิบดีศรีลังกา โดยมี เลขานุการประธานาธิบดี นาย พีบี อาเบคุน เป็นผู้รับแทน เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลศรีลังกาขอร้องให้รัฐบาลเลิกการจาบจ้วงคณะสงฆ์ไทย รวมถึงการกระทำทางกฏหมายที่เป็นการคุกคามพระสงฆ์ไทย

Joint Statement “World Theravada Buddhist Sangha Council”

Monday 9th May 2016 At Grand Oriental Hotel, Colombo, Sri Lanka


คำแถลงการณ์ร่วม สภาคณะสงฆ์พุทธเถรวาทแห่งโลก
วันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคม 2559  ณ โรงแรมแกรนด์โอเรนทัล เมืองโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา


******************

        “World Theravada Buddhist Sangha Council (WTBSC)” was jointly founded in accordance with the unanimous resolution of this Buddhist confercnce. held at the Grand Oriental Hotel in Sri Lanka May 8-9, 2016. This conference convened on the current condition of Buddhism in South and Southeast Asia, and was attended by monastic representations from Australia, Bangladesh. India, Nepal, Sri Lanka, Netherlands, Cambodia, Indonesia Laos, Myanmar. Singapore, and Thailand.


        สภาคณะสงฆ์พุทธเถรวาทแห่งโลก (WTBSC) ถูกก่อตั้งขึ้นจากมติอย่างเป็นเอกฉันท์จากการประชุมทางพระพุทธศาสนาในครั้งนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมแกรนด์โอเรนทัล ประเทศศรีลังกา ระหว่างวันที่  8-9 พฤษภาคม 2559  การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่ออภิปรายถึงสถานการณ์ของพระพุทธศาสนาที่กำลังเกิดขึ้นในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีตัวแทนคณะสงฆ์เข้าร่วมจากประเทศออสเตรเลีย บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา เนเธอร์แลนด์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า สิงคโปร์ และประเทศไทย


The joint statement reads as follows:

คำแถลงการณ์ร่วมมีดังต่อไปนี้


        1.The “World Theravada Buddhist Sangha Council” was established with initial founding members from 12 countries, namely: Australia, Bangladesh, India, Nepal, Sri Lanka, Netherlands, Cambodia, Indonesia, Laos, Myanmar, Singapore, and Thailand.


.                   1.สภาคณะสงฆ์พุทธเถรวาทแห่งโลกก่อตั้งขึ้นโดยมีสมาชิกผู้ก่อตั้งแรกเริ่มจาก  12 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย บังคลาเทศ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา เนเธอแลนด์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว พม่า สิงคโปร์และประเทศไทย


      2.The WTBSC shall convene at least once annually and uphold the principle of Dhamma-Vinaya in all of its conferences.


        2. WTBSC จะจัดประชุมอย่างน้อยหนึ่งครั้งต่อปีและคงไว้ซึ่งหลักการตามพระธรรมวินัยในทุกการประชุม


      3.The WTBSC shall release an official statement after every conference.


       3.   WTBSC  จะนำเสนอคำแถลงการณ์อย่างเป็นทางการภายหลังการประชุมทุกครั้ง


      4.The WTBSC shall found a headquarter office in Anurudharana Pansalatenwa, Matale, Sri Lanka, announcing Most Venerable Mugunuwela Anuruddha as president. Regional centers shall be established in the future.
     4.WTBSC จะจัดตั้งสำนักงานใหญ่ที่ Anurudharana Pansalatenwa เมือง Matale  ประเทศศรีลังกา โดยประกาศให้พระเดชพระคุณ Mugunuwela Anuruddha เป็นประธาน และจะมีการจัดตั้งศูนย์ในระดับภูมิภาคในอนาคต

      5. “World Theravada Buddhist Sangha Council” hereby conveys its utmost conccm for the following Buddhist-related issues concluded from this conference:

       5.   โดยนัยนี้ สภาคณะสงฆ์พุทธเถรวาทแห่งโลกขอแสดงความกังวลอย่างมากต่อประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาดังต่อไปนี้   ซึ่งได้สรุปจากการประชุมในครั้งนี้


          5.1) The WTBSC supports the approach of the Myanmar Sangha to strengthen the stability of Buddhism in Myanmar.


5.1  WTBSC สนับสนุนวิธีการของคณะสงฆ์พม่าในการเพิ่มเสถียรภาพให้กับพระพุทธศาสนาในพม่า

          5.2) The WTBSC expresses its distressing concern over the current state of Buddhism in Thailand. Thailand was chosen by the international Buddhist community to be the center of world. This includes considering the Supreme Patriarch (Sangharaja) of Thailand to be the chief monk of all (Theravada) Buddhists in the world. Therefore, the World Theravada Sangha Council wholeheartedly expresses its wish that:

  5.2  WTBSC ขอแสดงความเศร้าใจต่อสถานการณ์ทางพระพุทธศาสนาที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย  ประเทศไทยได้รับเลือกจากชุมชนชาวพุทธนานาชาติให้เป็นศูนย์กลาง(พระพุทธศาสนา)ของโลก อันหมายรวมถึง การคิดพิจารณาว่าสมเด็จพระสังฆราช (สังฆราชา) ของประเทศไทยเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้มีอำนาจสูงสุดของชาวพุทธเถรวาททั้งหมดในโลก ดังนั้น สภาคณะสงฆ์พุทธเถรวาทแห่งโลกจึงขอแสดงความปรารถนาอย่างที่สุดว่า


              5.2.1) The government of Thailand completely refrains from any and all intervention and interference with the affairs of the Thai Sangha. This is authorized and in accordance to the Sangha’s Act. legislated by the Thai government. The Thai government strictly follows the implementation of the Sangha's Act, with special focus regarding the issue of the nomination of the 20th Supreme Patriarch (Sangharaja). The Thai government shall endorse the nomination in accordance with the resolution of the Supreme Sangha Council. We request the Thai Government to thoroughly consider that the Supreme Patriarch (Sangharaja) of Thailand is to be considered the chief monk of all Buddhists in the world.

          5.2.1 รัฐบาลไทยต้องยุติการก้าวก่ายและการแทรกแซงทั้งหมดใดๆ ที่เกี่ยวกับการคณะสงฆ์ไทยอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับอนุญาตและเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ซึ่งถูกบัญญัติขึ้นโดยรัฐบาลไทย รัฐบาลไทยได้ติดตามการบังคับใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์อย่างเข้มงวด โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเด็นการแต่งตั้งตำแหน่งพระสังฆราชองค์ที่ 20 รัฐบาลไทยควรรับรองการแต่งตั้งโดยให้มีความสอดคล้องกับมติของมหาเถรสมาคม พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลไทยได้คิดพิจารณาอย่างถี่ถ้วนว่าสมเด็จพระสังฆราชของประเทศไทยนั้นถือว่าเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้มีอำนาจสูงสุดของชาวพุทธทั้งหมดในโลก
             5.2.2) The Thai government is to never hasten a legal process on any monastic member of the Sangha, particularly one without just cause, wrongly accused, and prejudicially persecuted. In consideration with any legal action case against any monastic member of the Sangha. they shall thoroughly abide by the monastic code of conduct, Thai law and the Supreme Sangha Council's resolutions.
         5.2.2 รัฐบาลไทยต้องไม่เร่งรัดกระบวนการทางกฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับพระภิกษุสงฆ์ในคณะสงฆ์ไทย โดยเฉพาะพระภิกษุสงฆ์ ที่ปราศจากเหตุผลอันสมควร ถูกกล่าวหาอย่างไม่ชอบธรรมหรือถูกดำเนินคดีอย่างอยุติธรรม นอกจากนี้ ในการพิจารณาคดีความทางกฎหมายใดๆที่มีต่อสมาชิกของคณะสงฆ์ไทย รัฐบาลไทยควรยึดตามหลักการของพระวินัย กฎหมายไทยและมติของมหาเถรสมาคม

            5.2.3) The Thai Government is firmly requested to cease and desist all harassment against the largest Theravada Buddhist temple in the world, located in Thailand. This center is at the leading edge of both the propagation and practice of the Lord Buddha's Dhamma. They are a shining example for the rest of the world, one which Thailand and its government should exalt and honorate.
        5.2.3 รัฐบาลไทยต้องยุติและระงับการคุกคามทั้งหมดที่ได้กระทำต่อวัดพุทธเถรวาทที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งตั้งอยู่ในประเทศไทย วัดแห่งนี้เป็นผู้นำของทั้งการเผยแผ่และการปฏิบัติธรรมะขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า วัดแห่งนี้เป็นตัวอย่างอันรุ่งโรจน์ให้กับชาวโลก วัดซึ่งประเทศไทยและรัฐบาลไทยควรยกย่องและเชิดชู

       5.3) WTBSC requests governments of any countries, in which Theravada Sangha was established, to refrain from interfering with the Sangha’s affairs and activities. The governments should support all Sangha’s activities. Every Theravada Sangha's aim is to instill moral values in everyone's life, which will consequently bring about harmony and unity in their respective countries.

5.3 WTBSC ขอร้องต่อรัฐบาลของทุกประเทศซึ่งมีคณะสงฆ์เถรวาทตั้งอยู่ ให้ยุติการแทรกแซงในกิจการและกิจกรรมของคณะสงฆ์ รัฐบาลควรสนับสนุนทุกกิจกรรมของคณะสงฆ์  เป้าหมายของคณะสงฆ์เถรวาทคือการปลูกฝังศีลธรรมให้เกิดขึ้นในชีวิตของทุกผู้คน อันจะนำมาซึ่งความสมัครสมานสามัคคีและความเป็นเอกภาพในประเทศเหล่านั้น












2 ความคิดเห็น: